วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

social network


ความหมายของ Social Network
สังคมออนไลน์ (Social Network)
"Social Network นี้ถือว่าเป็นเทคโนโลยีอีกอันนึง ที่สามารถช่วยให้เราได้มามีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของคำว่า Social Network นี้จริงๆ แล้วก็คือ Participation หรือ การมีส่วนร่วมด้วยกันได้ทุก ๆ คน (ซึ่งหวังว่าผู้ที่ติดต่อกันเหล่านั้นจะมีแต่ความปรารถนาดี สิ่งที่ดีๆ มอบให้แก่กันและกัน) ถ้าพูดถึง Social Network แล้ว คนที่อยู่ในโลกออนไลน์คงจะรู้จักกันเป็นอย่างดี และก็คงมีอีกหลายคนที่ได้เข้าไปท่องอยู่ในโลกของ Social Network มาแล้ว ถึงแม้ว่า Social Network จะไม่ใช่สิ่งใหม่ในโลกออนไลน์ แต่ก็ยังเป็นที่นิยมอย่างมากในกลุ่มคนที่ใช้อินเตอร์เน็ต ทำให้เครือข่ายขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ และจะยังคงแรงต่อไปอีกในอนาคต จากผลการสำรวจจากประเทศสหรัฐอเมริกายืนยันการใช้บริการ Social Network ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี และมาแรงเป็นอันดับต้นๆ ของโลกออนไลน์ ส่วนเว็บไซต์ที่มีจำนวนผู้เข้าชมสูงสุดทั่วโลก ก็เห็นจะเป็น My space, Facebook และ Orkut สำหรับเว็บไซต์ ที่มีเปอร์เซ็นต์เติบโตเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวก็เห็นจะเป็น Facebook แต่สำหรับประเทศไทยที่ฮอตฮิตมากๆ ก็คงจะหนีไม่พ้น Hi5  และ Facebook"
Social network แหล่งแลกเปลี่ยนข้อมูลและความสัมพันธ์บนโลกอินเตอร์เน็ท จะยกตัวอย่างให้เห็นภาพกัน อาทิเช่น ปกติเหล่าแม่บ้านจะจับเข่าเม้าส์กันกับบรรดาเพื่อนบ้านใกล้เคียง เมื่อเป็น social network แม่บ้านจะสามารถเข้าเว็บไซต์ เพื่อทำการเลือกกลุ่มที่สนใจ (กลุ่มแม่บ้าน) แล้วเข้าไปเหล่าเรื่องที่ตนเองพบเจอมา สักพักเมื่อเวลาผ่านไป บรรดาเหล่าแม่บ้านจากทั่วโลก จะเข้ามาแชร์ประกบการณ์ในเรื่องที่แม่บ้านได้เขียนไว้ คุณผู้อ่านพอจะมองเห็นภาพกันบ้างไหมว่า นี้คือโลกที่สามยุคที่อะไรก็ไม่อาจจะหยุดยั้งไว้ได้แล้ว
ขอแนะนำ 10 อันดับ Social Network ที่ได้รับความนิยมในขณะนี้
 1. MySpace.com
 2. FaceBook.com
 3. Orkut.com
 4. Hi5.com
 5. Vkontakte.ru
 6. Friendster.com
 7. SkyRock.com
 8. PerfSpot.com
 9. Bebo.com
 10. Studivz.net


เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) และ

การใช้ประโยชน์และการใช้งาน

 

ในยุคที่อินเตอร์เน็ตกำลังเป็นที่นิยมและได้รับการ พัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่งจาก การพัฒนาของโลก เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) จากยุคแรกหรือเรียกว่า Web 1.0 ซึ่งมีลักษณะเป็น Static Web คือมีการนำเสนอข้อมูลทางเดียว ต่อมาเข้าสู่เว็บ ยุคที่ 2 หรือ Web 2.0 เป็นยุคที่เน้นให้อินเตอร์เน็ตมีศักยภาพในการใช้งานมากขึ้น เน้นให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ลงบนเว็บไซต์ร่วมกัน และสามารถโต้ตอบกับข้อมูลที่อยู่บนเว็บไซต์ได้ และผู้ใช้สามารถสร้างเนื้อหา (Content) แลกเปลี่ยนและกระจายข้อมูลกันได้ทั้งในระดับบุคคล หรือกลุ่ม จนกลายเป็นสังคมในโลกอินเตอร์เน็ต หรือเรียกว่า สังคมออนไลน์ (Social Network) นั่นเอง
สังคมออนไลน์ (Social Networking) คือสังคมที่ผู้คนสามารถทำความรู้จัก ร่วมแบ่งปันสิ่งที่สนใจ และสามารถเชื่อมโยงกันได้ในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ในโลกอินเตอร์เน็ต โดยอาศัยรูปแบบการบริการ เรียกว่าบริการเครือข่ายสังคม หรือ Social Networking Service (SNS)” โดยเป็นรูปแบบของเว็บไซต์ ในการสร้างเครือข่ายสังคม สำหรับผู้ใช้งานในอินเทอร์เน็ต ที่ใช้เขียนและอธิบายความสนใจ และกิจกรรมที่ได้ทำ และเชื่อมโยงกับความสนใจและกิจกรรมของผู้อื่น รวมทั้งข้อมูลส่วนตัว บทความรูปภาพผลงาน พบปะ แสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ หรือความสนใจร่วมกัน และกิจกรรมอื่นๆ รวมไปถึงเป็นแหล่งข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ผู้ใช้สามารถช่วยกันสร้างเนื้อหาขึ้น ได้ตามความสนใจของแต่ละบุคคลหรือกลุ่มบุคคล
ปัจจุบันนี้มีเว็บไซต์ที่ให้บริการสังคมออนไลน์ มีอัตราการเจริญเติบโตสูงสุดในอินเตอร์เน็ต และมีอัตราการเข้าใช้งานและสมัครสมาชิกสูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เว็บไซต์ Myspace และ Facebook นอกจากนี้เว็บไซต์ที่ให้บริการ สังคมออนไลน์มีหลากหลายเว็บไซต์เช่น digg, Youtube, Multiply, linkedin และเป็นที่นิยมกันมากที่สุดในสังคมวัยรุ่นบ้านเราคือ Hi5 นั่นเอง
หลาย ๆ คน คงมี Web Social Network เป็นของตัวเอง บางคนมีหลาย ๆ เว็บด้วยซ้ำไป อย่างไรก็ตาม เราสามารถประยุกต์ใช้สังคมออนไลน์ กับงานด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านธุรกิจ หรือการเรียนการสอนในลักษณะของการแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing) ร่วมกัน การนำเสนอผลงาน การติวหนังสือด้วยกัน หรือแม้แต่กระทั่งการทำงานกลุ่มร่วมกัน
ปัจจุบันมี เว็บไซต์ที่ให้บริการ Social Network Service (SNS) มากมาย และแต่ละเว็บก็ต่างคิดค้นพัฒนาเพื่อเอาใจผู้ใช้กันอย่างต่อเนื่องอย่างไม่ หยุดยั้งและยังมีฟังก์ชั่นมากมายแต่อาจมีจุดเด่นที่แตกต่างกันไปเพื่อเป็น จุดขายให้กับเว็บไซต์นั้น ๆ ซึ่งเราสามารถนำมาประยุกต์ใช้เว็บ SNS เพื่อเป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนความรู้และทำงานร่วมกันได้ โดยกลุ่มหลัก ๆ ของ SNS เพื่อการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้แบ่งออกได้ดังนี้
1. กลุ่มเว็บไซต์เผยแพร่ ตัวตนเว็บไซต์เหล่านี้ใช้ สำหรับนำเสนอตัวตน และเผยแพร่เรื่องราวของตนเองทางอินเตอร์เน็ต หรือผู้ใช้สามารถเขียน blog สร้างอัลบั้มรูปของตัวเอง สร้างกลุ่มเพื่อนในห้องเรียน และสร้างเครือข่ายเพื่อการเรียนรู้ขึ้นมาได้ ตัวอย่างเว็บไซต์ประเภทนี้คือ myspace.com, hi5.com และ facebook.com เป็นต้น
2. กลุ่มเวปไซต์เผยแพร่ ผลงานเราสามารถใช้เว็บไซต์เหล่า นี้ในการนำเสนอผลงานของตัวเอง ผลงานของกลุ่ม ได้ในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นวีดีโอ รูปภาพ หรือเสียงอาจารย์สอนที่ได้จากการบันทึกในชั้นเรียนเป็นต้น ตัวอย่างเว็บไซต์ประเภทนี้เช่น YouTube.com,
Yahoo VDO, Google VDO, Flickr.com, Multiply.com เป็นต้น
3. กลุ่มเว็บไซต์ที่มีความสนใจตรงกัน
มีลักษณะเป็น Online Bookmarking หรือ Social Bookmarking โดยมีแนวคิดที่ว่า แทนที่เราจะทำ Bookmark (เหมือนกับเราคั่นหนังสือ) เว็บที่เราชอบ หรือบทความรายงานที่เกี่ยวข้องกับการเรียน เก็บไว้ในเครื่องของเราคนเดียว สู้เรา Bookmark เก็บไว้บนเว็บจะดีกว่า เพื่อจะได้แบ่งให้เพื่อน ๆ คนอื่นดูได้ด้วย และเราก็จะได้รู้ด้วยว่าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมาก เป็นที่น่าสนใจ โดยดูได้จากจำนวนตัวเลขที่เว็บไซต์นั้นถูก Bookmark เอาไว้จากสมาชิกคนอื่นๆ ตัวอย่างเว็บไซต์นี้ ได้แก่
del.icio.us, Digg, Zickr, duocore.tv เป็นต้น
4. กลุ่มเว็บไซต์ที่ใช้ทำงานร่วมกัน
เป็นกลุ่ม SNS ที่เปิดให้สมาชิกทุกคนในกลุ่มเข้ามานำเสนอข้อมูล ความคิดหรือต่อยอด เรื่องราวต่าง ๆ ได้ ตัวอย่างเว็บไซต์นี้ได้แก่
WikiPedia เป็นสารานุกรมต่อยอด ที่อนุญาตให้ใครก็ได้เข้ามาช่วยกันเขียน และแก้ไขบทความต่างๆ ได้ตลอดเวลา ทำให้เกิดเป็นสารานุกรมออนไลน์ขนาดใหญ่ที่รวบรวมความรู้ ข่าวสาร และเหตุการณ์ต่างๆ ไว้มากมาย
ปัจจุบันเราสามารถใช้ Google Maps สร้างแผนที่ของตัวเอง หรือแชร์แผนที่ให้คนอื่นได้ด้วย จึงทำให้มีสถานที่สำคัญ หรือสถานที่ต่างๆ ถูกปักหมุดเอาไว้ พร้อมกับข้อมูลของสถานที่นั้นๆ ไว้แสดงผลจากการค้นหาได้อีกด้วย และสิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งสำหรับ Social Network นั้นก็คือ เราสามารถพูดคุย นำเสนอ บอกเล่าเรื่องส่วนตัว และเรื่องราวการเรียน เรื่องราวที่เราสนใจ หรือแม้แต่การทำรายงานของเราและของกลุ่มเราได้ ดังนั้นเราจึงควรใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ตและเว็บสังคมออนไลน์ให้เกิด ประโยชน์ แทนที่จะนำเสนอรูปภาพส่วนตัวหรือเรื่องราวที่ไม่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ หันมารวมกลุ่มกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ร่วมกันโดยผ่านเว็บไซต์สังคมออนไลน์ที่มีให้บริการฟรีอยู่มากมายหลากหลายในอินเตอร์เน็ต 


ประโยชน์ Social network

ประการแรก เลย เราสามารถใช้เว็บเหล่านี้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารข้อความต่างๆ ไม่ว่าของตนเองหรือขององค์กรออกไปยังคนกลุ่มหนึ่ง โดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายทางด้านการตลาดแต่อย่างใด บางคนก็เรียกเป็นกลยุทธ์ปากต่อปาก หรือ Viral Marketing ที่เมื่อเราโพสต์ข้อความบางประการลงไปในเว็บสังคมออนไลน์เหล่านี้ คนจำนวนมากที่เป็น "เพื่อน" ของเราหรือติดตามเราอยู่ ก็จะได้รับข้อมูลเหล่านั้น และถ้าข้อความดังกล่าวมีความน่าสนใจ ข้อความดังกล่าวก็จะถูกสื่อสารต่อออกไปเรื่อยๆ อย่างเช่น Twitter ของนายกฯ และอดีตนายกฯ ที่ต่างก็พยายามใช้สื่อนี้ในการทำ Viral Marketing อย่างกรณีของอดีตนายกฯ นั้น ก็เขียนไว้ใน Twitter ของตนเองว่า "เมื่อวานนี้ได้รับสิทธิทำลอตเตอรี่ในอูกานดาเพื่อนำรายได้มาคัดเด็กเก่งๆ ส่งไปเรียนต่างประเทศบางคนก็จะส่งมาเรียนในไทย รวมทั้งส่งเสริมฟุตบอลด้วย" ในขณะที่ Twitter ของนายกฯ ปัจจุบัน ก็เขียนไว้ว่า "เปิดตัวเว็บไซต์ประจำตัวนายกรัฐมนตรีไทย และเพิ่มช่องทางสื่อสารใหม่ของประชาชนผ่านทาง " ซึ่งเชื่อว่านักข่าวก็ติดตาม Twitter ของบุคคลทั้งสอง เพื่อที่จะได้เผยแพร่นำข้อมูลเหล่านี้ไปเผยแพร่ผ่านทางสื่อมวลชนอีกต่อไป
ประการที่สอง นอกจากจะเป็นสื่อในการส่งข้อความแล้ว เรายังสามารถใช้เว็บสังคมออนไลน์เป็นที่ที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเกี่ยวกับองค์กรที่เราทำงาน เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่เราใช้ หรือเกี่ยวกับการเมือง ผมเองลองพิมพ์ค้นหาคำว่า Abhisit ลงไปใน Twitter ก็จะเจอความเห็นใน Twitter ของประชาชนทั่วๆ ไปทั้งในเชิงบวกและลบเกี่ยวกับนโยบายและกิจกรรมของท่านนายกฯ หรือพอพิมพ์คำว่า McDonald ลงไปใน Twitter ก็จะเจอความเห็นเกี่ยวกับสินค้าของ McDonald อยู่เต็มไปหมด ดังนั้น ถ้าใช้ให้ดีๆ แล้วสังคมออนไลน์เหล่านี้ จะกลายเป็นช่องทางในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสินค้าและบริการต่างๆ ซึ่งไม่ช้าไม่นาน องค์กรต่างๆ ก็คงต้องหาคนมาคอยเฝ้าเว็บสังคมออนไลน์เหล่านี้ เพื่อคอยสืบและติดตามข่าวเกี่ยวกับองค์กรตนเอง
บางองค์กรยังใช้ FB และ Twitter เป็นเครื่องมือในการตอบคำถาม หรือข้อข้องใจของลูกค้าเกี่ยวกับข้อร้องเรียนเกี่ยวกับสินค้าและบริการต่างๆ โดยจะมีพนักงานคนหนึ่งทำหน้าที่ในการติดตามข่าวสารหรือข้อร้องเรียน เสียงโวยวายต่างๆ ที่ปรากฏใน FB และ Twitter และทำหน้าที่ในการชี้แจงข้อมูล ข้อเท็จจริงต่างๆ รวมทั้งตอบคำถามที่ปรากฏอยู่ในเว็บสังคมออนไลน์เหล่านี้ จริงๆ แล้ว ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่ติดตาม ข้อมูลข่าวสารบนเว็บสังคมออนไลน์เท่านั้น แต่อาจจะเป็นหน้าที่ของพนักงานทุกคนเลยก็ได้ครับ ว่า ถ้าเจอข้อวิพากษ์วิจารณ์เหล่านี้ปรากฏขึ้นเมื่อไร ก็จะต้องทำหน้าที่ในการตอบและชี้แจงทันทีไม่ต้องรอให้คนที่รับผิดชอบเป็นคนคอยมาตอบและดูแลเท่านั้น
ปัจจุบันในเมืองไทยนั้น Twitter กำลังเป็นที่นิยมกันในระดับหนึ่ง (และเริ่มมากขึ้นหลังกลายเป็นสมรภูมิระหว่างผู้นำประเทศในปัจจุบันและอดีตผู้นำประเทศ) แต่ที่กำลังฮิตๆ กันมากก็หนีไม่พ้น Facebook ที่ในอดีตเว็บในลักษณะนี้ เป็นแหล่งชุมนุมของวัยรุ่น (Hi 5 เป็นต้น) แต่พอมาเป็น Facebook แล้วปรากฏว่ากลุ่มที่ไม่ใช่วัยรุ่นจะหันมาใช้และเล่นกันมากขึ้น มีงานวิจัยในอังกฤษที่ชี้ให้เห็นว่าวัยรุ่นในอังกฤษได้เริ่มลดความสนใจในเว็บ Social Networking ลงไป เหมือนกับว่าเว็บ Social Networking เหล่านี้ เริ่มถึงจุดอิ่มตัวสำหรับวัยรุ่น แต่ถ้าเป็นวัยผู้ใหญ่ กลับตอบรับต่อ Facebook ด้วยดี ซึ่งก็คล้ายๆ ในไทยที่ปัจจุบันเห็นวัยผู้ใหญ่หันมาเล่น และใช้ Facebook กันมากขึ้น
 





http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2009q3/2009august11p3.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น