ตามความหมาย blog ก็คือการนำเสนอความคิดเห็นส่วนตัวของเจ้าของ blog ผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ครับ โดยการนำเสนอจะไปตามเวลา และคนทั่วไปสามารถร่วมลงความเห็นได้ด้วย ซึ่งก่อนหน้านี้การจะมี web เป็นของตัวเองนั้นค่อนข้างยากครับ เพราะว่า เรามักจะต้องมีความรู้ในการเขียน html, Java, และ Javascript และภาษาอื่น ๆ ในระดับที่มากพอควร จึงจะสามารถนำเสนอความคิดตนเองขึ้น web ได้ เมื่อเกิด blog ขึ้นทำให้ผู้คนทั่วไปที่มีความรู้ภาษาคอมพิวเตอร์ระดับไม่สูงนัก สามารถเข้ามามีพื้นที่แสดงความเป็นตัวของตัวเองได้มากขึ้นครับ
ในปี 1996-1997 Jorn Barger (1953, Ohio) เป็นนักเขียนชาวอเมริกา ซึ่งเป็นเจ้าของ web ชื่อ Robot Wisdom นั้นเป็นคนแรกที่ได้เครดิตว่าเป็นคนเริ่มใช้ คำว่า "weblog" เป็นคนแรก ๆ ครับ เดิมนั้น ความหมายเค้ามาจากการรวมคำว่า "logging the web" ตามตัวอักษรเลย ชื่อนี้เริ่มใช้ในปี 1997 และได้รับความนิยมไปทั่วครับ ต่อมา Peter Merholz ได้แปลงเป็น "we blog" แทน และใช้คำว่า "blog" แทนในปี 1999 ต่อมาก็ได้รับความนิยมจนกระทั่งกลายเป็นคำบัญญัติใหม่สำหรับ English Dictionary ทั่วไป โดย Oxford English Dictionary ได้บันทึกความหมายไว้ในปี 2003 นี่เองครับ
บางคนอาจจะรู้สึกว่า ไม่เห็น (มัน) จะต่างกับ diary online ตรงไหน จริง ๆ แล้ว ก็คล้าย ๆ กันครับ แต่ว่า blog นั้นจะมีเนื้อหาที่นำมาใช้ได้กว้างกว่า และไม่มีข้อกำหนดด้านเวลามากเท่า Diary
ปัจจุบัน คนนิยมใช้ blog มากครับ โดยทั่วไปก็เป็นไปเพื่อแสดงความคิดเห็นส่วนตัว ออกแนวไม่วิชาการมากนัก และสามารถแสดงความเป็นตัวของตัวเองได้อย่างดี สามารถใส่อะไรลงไปก็ได้เลยล่ะครับ นอกจากนี้ยังมีการใช้งานที่ไม่ยากนัก ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์มากเท่าไหร่นัก
blog แรก ๆ ที่ให้บริการ free blog ก็ได้แก่ blogger เป็นต้นครับ แต่ลักษณะของผู้ให้บริการ free webblog เหล่านี้ก็ไม่ได้มีลักษณะเหมือนกันนะครับ ขึ้นกับการกำหนดหน้าตาของฝ่ายออกแบบของผู้ให้บริการครับ
สำหรับ bloggang นั้น ก็ตั้งขึ้นสำหรับสมาชิก pantip นั่นเองครับ ถ้าสงสัยโปรดอ่านรายละเอียดได้ที่นี่ครับ
สำหรับ bloggang นั้น เค้ามีรูปแบบการเป็นแบบ Diary คือ จะมีเรื่องของเราแค่ 1 เรื่องในแต่ละหน้า ส่วนแบบ Blog นั้นเป็นแบบที่มีหัวเรื่องของเราหลาย ๆ หัวเรื่องในหน้านั้น ๆ ครับ
สำหรับการเปิด blog ของ bloggang นั้น จะต้องเป็นสมาชิกแบบมีอมยิ้มของ pantip ก่อนครับ แล้วก็มาจัดการสมัครได้ที่นี่ครับ
เริ่มเปิด blog แล้ว ก็จะพบว่า ชื่อที่คุณได้ คือ http://ชื่อที่คุณตั้ง.bloggang.com ครับ
สามารถเริ่มปรับแต่งเว็บ Blog ของคุณได้ตามที่ต้องการในขอบเขตที่ทาง bloggang กำหนดไว้ โดยทาง bloggang มีการกำหนดลักษณะไว้ ดังนี้ครับ
- จัดการ Group Blog : เพิ่ม Group Blog กำหนดรูปแบบ Group Blog เป็นแบบ public หรือ private
- เพิ่ม group blog คือการเพิ่มหัวข้อใหญ่ของ blog ที่คุณต้องการครับ
- รูปแบบ public หรือ private ถ้าเลือกเป็น public นั้น ใคร ๆ ก็อ่านได้ครับ ส่วน private นั้นก็ต้องใช้ password ครับซึ่งต้องมีการกำหนด password ไว้ก่อน แล้วอย่าลืมบอกคนที่ต้องการด้วยล่ะครับ ไม่งั้นก็คงจะได้เก็บไว้ดูคนเดียวแน่ ๆ ครับ หึ หึ
- จัดการ Blog : เขียน Blog ใหม่, แก้ไข/ลบ Blog เดิม
- การเขียน blog ใหม่ ก็คือการสร้างหัวข้อย่อยเรื่องที่คุณต้องการครับ ซึ่งสามารถเลือกใน radio button หรือปุ่มกลม ๆ ข้างล่างได้ว่า จะให้ comment ได้ หรือไม่ต้องการ comment เลย
- การแก้ไข/ลบ Blog เดิม ก็ ตามชื่อครับ
- ปรับแต่งเว็บ Blog : ตั้งชื่อ Slogan, เลือกสไตล์ของเว็บ Blog เป็นแบบ Diary Style หรือ Blog Style, เลือก Theme
- ตั้งชื่อ Slogan ช่องนี้สำหรับคนที่เลือก blog Theme แบบที่กำหนดไว้ จะปรากฏข้อความที่มุมขวาบนครับ ช่องนี้มีประโยชน์มาก เพราะสามารถใส่ html หรือ script ลงไปได้ครับ โดยถ้าเป็นประเภท visual effect บางอย่าง เช่น ภาพ นาฬิกา จะไปโผล่ที่หัว blog ด้านขวาบนครับ
- การเลือก style ของ blog ก็อย่างที่ได้ว่าไปแล้วครับ ถ้าเลือกแบบ diary ก็จะได้เป็นแบบ 1 กรอบข้อความต่อหน้า มีความเห็นของผู้มาเยี่ยมต่อท้าย ส่วน blog ก็จะเป็นแบบหนึ่งหน้ามีหลายกรอบข้อความที่คุณสร้าง และไม่มีความเห็นแสดงไว้ แต่ว่าสามารถ click ดูได้น่ะครับ
- จัดการ Link : เพิ่ม link ของเว็บต่างๆ ไว้ในหน้าเว็บ Blog ของคุณ
- คือการสร้าง link ที่ไปยังหน้าอื่น ๆ ที่คุณต้องการ เช่น ไปยังห้องหรือโต๊ะของพันทิป หรือไปยัง web หนังสือพิมพ์ เป็นต้นครับ
- จัดการ Friend Link : เพิ่มรายชื่อและ link ของเว็บ Blog ท่านอื่น เพื่อแสดงในหน้าเว็บ Blog ของคุณ
- เพิ่มรายชื่อและ link ของเว็บ blog ท่านอื่น เพิ่ม friend link น่ะครับ
- แก้ไข Profile ส่วนตัว : เพิ่มข้อมูลส่วนตัว เพื่อให้คนที่เยี่ยมชม Blog ได้รู้จักคุณมากขึ้น
- การเพิ่มข้อมูลส่วนตัว ก็จะมีช่องให้เลือกน่ะครับ กรอก ๆ ตามช่องที่เค้ากำหนด (ถ้าต้องการกรอก ไม่กรอกก็ได้) สำหรับช่อง "ข้อมูลส่วนตัว" ที่เค้าให้กรอกก็เป็นอีกที่หนึ่งที่สามารถใส่ tags html หรือ script ลงไปได้ครับ โดยจะแสดงผลอยู่ด้านขวามือสุดครับ เช่น ถ้าใส่ script นาฬิกาไป ก็จะไปอยู่ด้านขวามือ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น